ยาเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาความเจ็บป่วย โดยทั้งการบำบัด บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน เช่น อาการไข้ ปวด หรือคัน และโดยการกำจัดสาเหตุของโรค เช่น ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น แต่ทุกสิ่งในโลกย่อมมีทั้งคุณและ โทษอยู่ในตัวเอง จึงต้องมีความระมัดระวังในการใช้ เพื่อให้ได้ประโยชน์สุงสุด และมีโทษน้อยสุด
หลักการใช้ยา
ก่อนใช้ยาควรอ่านฉลากให้ละเอียดและปฏิบัติตามซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
- ใช้ยาให้ถูกกับโรค
การใช้ยาให้ถูกกับโรค คือ ต้องพิจารณาดูว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วจึงใช้ยาที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคนั้นได้ เช่น เมื่อเป็นไข้ ก็ควรให้กินยาลดไข้ เมื่อมีอากรปวดท้อง ก็ต้องใช้ยาแก้ปวดท้อง
- ใช้ยาให้ถูกขนาด
เมื่อแพทย์สั่งให้ใช้ยาในขนาดต่าง ๆ เราต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยาเกินขนาดที่แพทย์สั่ง ถ้าใช้ยามากเกิน ขนาดที่แพทย์สั่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ถ้าใช้ยาน้อยเกินไปจะ ไม่มีผลในการรักษา บางครั้งเราอาจรู้สึกลำบากใจ เพราะไม่เข้าใจขนาดยาที่แพทย์สั่งและจะหาของใช้ในบ้าน มาตวงยาได้อย่างไรบ้าง ขอเสนอแนะให้ถือเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
ก. ขนาดยา 1 ซี.ซี. หรือมิลลิลิตร เท่ากับ 15-20 หยด แล้วแต่หยดเล็ก หยดใหญ่
ข. ขนาดยา 1 ช้อนชา เท่ากับ 4-5 ซี.ซี.(ช้อนชาที่ใช้ตามบ้านในเมืองไทย=3 ซี.ซี.)
ค. ขนาดยา 1 ช้อนโต๊ะเท่ากับ 15 ซี.ซี. หรือประมาณ 3 ช้อนชา(ช้อนโต๊ะไทยมีความจุประมาณ 10 ซี.ซี.)
ง. ขนาดยา 1 ออนซ์ เท่ากับ 30 ซี.ซี. หรือ 2 ช้อนโต๊ะมาตรฐาน( 3 ช้อนโต๊ะไทย)
จ. ขนาดยา 1 ลิตร เท่ากับ 1,000 ซี.ซี. หรือประมาณ 1 ขวดแม่โขงชนิดกลม
เมื่อเรารับประทานยาหรือฉีดยาเข้าไปในร่างกาย ตัวยาจะถูกดูดซึมเข้าไปในเลือด และกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำลายเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคส่วนใหญ่จะอยู่ในเลือด เราจึงต้องรักษาความเข้มข้นของยาให้ได้ขนาดพอเหมาะที่จะทำลายเชื้อโรคได้ เพราะว่าเมื่อตัวยาถูกส่งไปยังตับ ตับถือว่ายาเป็นสิ่งแปลกปลอมร่างกายไม่ต้องการ ตับจะขับตัวยาออกจากร่างกายทำให้ ความเข้มข้นของยาลดลงเรื่อย ๆดังนั้นเราจึงต้องรับประทาน ยาตามที่แพทย์สั่งเช่น 1เม็ดทุก4 ชั่วโมง เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของยาไว้
- ใช้ยาให้ถูกวิธี
ก่อนใช้ยาทุกชนิดต้องอ่านฉลาก ดูวิธีการใช้ยาให้ละเอียดชัดเจน เพราะยามีหลายรูปแบบ มีวิธีการใช้แตกต่างกันไป เช่น ยาบางชนิดใช้รับประทาน บางชนิดใช้ฉีด บางชนิดใช้ทาภายนอก บางชนิดใช้หยอดตา บางชนิดใช้เหน็บทาง ทวารหนัก บางชนิดกำหนดให้เขย่าขวดก่อนรับประทาน ยาบางชนิด เมื่อรับประทานแล้วต้องดื่ม น้ำตามมาก ๆ เป็นต้น
- ใช้ยาให้ถูกเวลา
การใช้ยานั้นต้องทราบว่ายานั้นควรรับประทานเมื่อใด และออกฤทธิ์อย่างไร เพราะถ้ารับประทานยาผิดเวลาที่กำหนดไป ยาอาจหมดฤทธิ์หรือไม่มีผลในการรักษา เช่น

ก. ยาก่อนอาหาร ส่วนใหญ่เป็นยาที่มีคุณสมบัติถูกดูดซึมได้ดีในขณะท้องว่าง จึงต้องรับประทาน ก่อนอาหารประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงชั่วโมง ถ้านำยาก่อนอาหารมา รับประทานหลังอาหารจะไม่ได้ผลในการรักษา เพราะตัวยาจะถูกดูดซึมเข้า สู่กระแสโลหิตได้ยาก
ข. ยาหลังอาหาร ส่วนมากเป็นยาที่มีคุณสมบัติเป็นกรด ถ้านำมารับประทานก่อนอาหารจะไป เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้กัดกระเพาะได้ จึงต้องนำมารับ ประทานหลังอาหาร โดยรับประทาน หลังอาหารประมาณ 15-30 นาที
ค. ยาก่อนนอน ส่วนมากเป็นยาที่มีคุณสมบัติกดประสาทหรือกล่อมประสาท เมื่อรับประทาน แล้วจะทำให้ง่วงนอน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ถ้าขับรถ หรือทำงานใกล้เครื่องจักรเครื่องยนต์ อาจเกิดอันตรายได้จึงให้รับประทาน ก่อนนอน ซึ่งยาจะไปออกฤทธิ์ในขณะที่กำลังนอนหลับ เช่น ยานอนหลับ เป็นต้น
- ใช้ยาให้ถูกคน
ยาที่ผลิตขึ้นมาใช้นั้นมีจุดมุ่งหมายแล้วว่าจะนำไปใช้กับคนประเภทใด ถ้านำไปใช้ผิดคนอาจเกิดอันตรายขึ้นได้หรือไม่ได้ผลในการรักษาเช่น ยาที่ผลิตขึ้นมาใช้ กับผู้ใหญ่ถ้านำไปใช้กับเด็กอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ หรือยาที่ผลิตใช้สำหรับเด็กถ้านำมาใช้กับผู้ใหญ่ก็อาจไม่ได้ผลในการรักษา
- ใช้ยาให้ครบระยะเวลา
เมื่อไปหาแพทย์แล้วแพทย์สั่งยามาให้รับประทานจำนวนมากพอสมควร เราต้องรับประทานยา ที่แพทย์สั่งให้หมด แม้ว่าเมื่อรับประทานยาไปส่วนหนึ่ง แล้วจะมีอาการ ดีขึ้นหรือหายจากโรคแล้วก็ตาม เพราะว่าอาการดีขึ้นนั้นเชื้อโรคอาจจะยังไม่หมดไปจากร่างกาย ถ้าหยุดยาเชื้อโรค อาจจะฟักตัวก่อให้ เกิดโรคได้อีกและเมื่อเราใช้ยา ชนิดเดิมอาจรักษาโรคไม่หาย เพราะเชื้อโรคดื้อยา
วิธีสังเกตุยาหมดอายุ
- ยาเม็ด ลักษณะแตกกร่อน กะเทาะ เปลี่ยนสีหรือสีซีด
- ยาเม็ดเคลือบ ลักษณะเยิ้มเหนียว
- ยาแคปซูล ลักษณะบวมโป่งพองหรือผงยาภายในจะจับกันเป็นก้อนเปลี่ยนสี
- ยาน้ำเชื่อม ลักษณะขุ่น มีตะกอน เปลี่ยนสี มีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยว
- ยาน้ำแขวนตะกอน ลักษณะตะกอนจับตัวเป็นก้อนแข็ง เขย่าแรงๆก็ไม่กระจาย
- ยาน้ำอีมัลชั่น ลักษณะเขย่าแล้วไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน
การดื้อยา เป็นภาวะที่เชื้อโรคต่าง ๆ ที่เคยถูกทำลายด้วยยาชนิดหนึ่ง ๆ สามารถปรับตัวจนกระทั่งยานั้นไม่สามารถทำลาย ได้อีกต่อไป เชื้อโรคที่ดื้อยาแล้วจะสามารถถ่ายทอดคุณสมบัตินี้ไปยังเชื้อโรครุ่นต่อไป ทำให้การใช้ยาชนิดเดิมไม่สามารถใช้ทำลายหรือรักษาโรคได้ ดังนั้นจึงควรใช้ยาให้ครบตามขนาดของยาที่แพทย์กำหนดและไม่ควรซื้อยามาใช้เอง