โรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสะสมกรดยูริค(Uric acid)ในร่างกาย กรดยูริคได้จากการเผาผลาญสารพิวรีนซึ่ง เป็นธาตุอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้และพบได้ทั่วไปในอาหารหลายชนิดโดยปกติเมื่อสารพิวรีนที่ร่างกายได้รับ จะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี
และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะสำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูกในเพศชายไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับเพศหญิง ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์
ซึ่ง โรคเก๊าท์ จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากในเพศชายมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าเพศหญิง และเมื่อป่วยเป็นโรคเก๊าท์แล้ว อาจมีค่ารักษาที่บานปลายได้ จึงเป็นตัวเลือกที่สำคัญ ในการเตรียมพร้อม ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับ โรคเก๊าท์ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อระดับกรดยูริกในเลือด
- อายุและเพศ: เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการสะสมของกรดยูริกเพิ่มขึ้น ผู้ชายจะมีการสะสมของกรดยูริกมากกว่าผู้หญิง และผู้หญิงจะมีการสะสมของกรดยูริกมากขึ้นเมื่อเข้าวัยหมดประจำเดือน
- โรคประจำตัว: ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะไตวายเรื้อรัง โรคไทรอยด์ ภาวะดื้ออินซูลิน โรคเบาหวานชนิด 2 เป็นต้น
- อาหาร: อาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เนื้อแดง อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ ยีสต์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำตาลฟรักโทส เครื่องดื่มรสหวาน เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม
- ยา: ยาขับปัสสาวะ (diuretics) ยาลดความดัน แอสไพริน ยาระบายเกินขนาด (alkalosis) ฮอร์โมนเพศหญิง เป็นต้น
โรคเก๊าท์ อาการเป็นยังไง
ปวดข้อบ่อย ๆ ใช่ โรคเก๊าท์ ไหม โรคเก๊าท์ อาการเป็นยังไง เป็นกรรมพันธุ์ไหม หลายคนที่มีอาการปวดข้อ คงกังวลไม่น้อย โดยเฉพาะเพศชายที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าเพศหญิง เนื่องจากมีกรดยูริกในเลือดที่สูงกว่า ซึ่งในผู้ชายกรดยูริก ไม่ควรที่จะเกิน 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับผู้หญิงกรดยูริก ไม่ควรเกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และโรคเก๊าท์นี้ยังสามารถติดต่อได้ทางกรรมพันธุ์อีกด้วย วันนี้ลองมาเช็กลิสต์กันดูว่า อาการแบบนี้เช่น อาการปวด บวมแดง ที่เราเป็น จะใช่โรคเก๊าท์หรือไม่
อาการของโรคเก๊าท์
- ปวด บวม แดง ร้อน พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อศอก ซึ่งบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า เป็นข้อที่พบอาการปวดเยอะที่สุด โดยส่วนใหญ่จะปวดข้อเดียว แต่ก็จะมีบางคน ที่ปวดพร้อมกันหลายข้อได้เช่นกัน
- อาการของเกาต์ปวดเป็นๆ หายๆ หรือเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะปวดบ่อยขึ้นและนานขึ้น จนกลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น โรคไต ไตวาย
- อาการของโรคเก๊าท์ มักปวดตอนกลางคืน อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่ การกินอาหารที่มียูริกสูง ดื่มสุรา หรือความเครียด
- ปวดเข่าข้างใดข้างหนึ่ง หากเกิดอาการแล้ว จะเป็นๆ หายๆ ในระยะแรก
อาหารที่ควรงดได้แก่
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เหล้า เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริคสูงขึ้น
- งดอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เป็ด ไก่ กะปิ หน่อไม้ สะเดา ยอดกระถิน และรับประทานไขมันมากทำให้การขับถ่ายกรดยูริค เป็นไปได้ยาก
การป้องกันและดูแลตัวเองของผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์
- การป้องกันโรคเก๊าท์ที่สามารถทำได้ คือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคด้วยการไม่รับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่วนการดูแลตัวเองของผู้ป่วย ได้แก่
- พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตามนัดทุกครั้ง และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลบางชนิด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเน้นรับประทานโปรตีนจากผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรศึกษาอย่างละเอียดว่าอาหารชนิดใดควรหรือไม่ควรรับประทาน หลีกเลี่ยงฟรุกโตสซึ่งพบมากในน้ำอัดลม
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน ไม่ควรลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเพราะอาจเป็นการเพิ่มระดับของกรดยูริกได้
- ดื่มน้ำให้มากเพื่อขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ
- หากมีอาการปวดเฉียบพลันให้พักการใช้ข้อที่อับเสบ แล้วใช้วิธีประคบเย็นช่วยบรรเทาอาการ
นอกจากเรื่องอาหารแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำก็ช่วยส่งเสริมการรักษาโรคเก๊าท์ให้ดีขึ้น ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ลดแรงกดที่ข้อ จะเห็นได้ว่า “ไก่” ไม่ได้เป็นอาหารต้องห้ามของผู้เป็นโรคเก๊าท์ แต่หากผู้ป่วยท่านใดกินไก่แล้วอาการปวดตามข้อเพิ่มมากขึ้น ก็ควรงด และเลือกโปรตีนจากแหล่งอื่นทดแทน เช่น ปลา ไข่ หรือโปรตีนจากพืช