ไวอากร้า ยาปลุกอารมณ์หญิง ยาปลุกอารมณ์ชาย ยาปลุกเซ็ก ยาอึด ยาทน ยาแข็ง

ออฟฟิศซินโดรม โรคนี้ต้องรีบรักษา ก่อนจะบานปลาย

ยุคสมัยนี้ โรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ดูจะเป็นโรคที่คนยุคใหม่เป็นกันมากพอสมควร ด้วยพฤติกรรมการทำงานและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เราไม่ค่อยเน้นการยืน เดิน เคลื่อนไหว หรือออกแรงเหมือนแต่ก่อน กลายเป็นการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือก้มดูมือถือนาน ๆ แทน

อาการออฟฟิศซินโดรม เริ่มแรกคือ รู้สึกปวดเมื่อยคอ บ่า ไหล่ สะบัก และบริเวณหลัง การนวดอาจจะช่วยให้ดีขึ้นได้ แต่ผ่านไปสักระยะหนึ่งก็จะกลับมาเป็นอีก และเป็นเรื้อรังมากขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่มาตรวจหาสาเหตุและทำการรักษา อาจลุกลามจนเป็นโรคไมเกรน หรืออาจเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่รุนแรงขึ้นตามมาได้

ออฟฟิตซินโดม

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงอาการปวดหรือชาจากอาการอักเสบจากเนื้อเยื่อและเอ็น มักเกิดขึ้นกับกลุ่มวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานในออฟฟิศหรือทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์และมือถือเป็นประจำ

โรคออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุมาจากอะไร

ออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ไม่ค่อยได้เปลี่ยนท่าทาง รวมถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งไขว่ห้างเป็นประจำ การนั่งตัวงอ หรือการก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานซ้ำ ๆ มีการหดเกร็ง หรือยืดค้างในรูปแบบเดิมบ่อย ๆ จนกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ เกิดการบาดเจ็บ หรืออาจขมวดเป็นก้อนตึง และเกิดอาการปวดตามมา

กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของเรามีลักษณะเป็นเส้นใยร้อยโยงต่อเนื่องกันหลายส่วน เมื่อกล้ามเนื้อเริ่มมีการขมวดกันเป็นปมขึ้น ก็ดึงรั้งกันไปมา ตอนแรกอาการปวดตึงอาจจะเริ่มจากจุดหนึ่ง แต่พอนานวันเข้าก็จะร้าวไปปวดอีกจุดหนึ่ง เพราะถูกดึงรั้งจากกล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็ง รู้ตัวอีกทีก็จะปวดเป็นบริเวณกว้าง ๆ ระบุหาตำแหน่งที่ปวดจริง ๆ ไม่ได้เลย

ธรรมชาติของคนทำงานประจำในยุคนี้ มักจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานได้ยาก เพราะต้องโฟกัสกับงานที่ทำ หรือยุ่งจนลืมปรับเปลี่ยนท่าทางและหยุดพัก บ่อยครั้งจึงปล่อยให้อาการของโรคนี้มีอาการหนักมากขึ้น หรือลุกลามไปยังกล้ามเนื้อและระบบประสาทส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน

หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา หรือไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมา เช่น เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรงอีกด้วย

แนวทางการสังเกตอาการโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยตัวเอง

ลักษณะของ อาการออฟฟิศซินโดรม สังเกตได้จากอาการปวดที่มีลักษณะเรื้อรัง โดยอาจจะเริ่มจากปวดเบา ๆ ไปจนถึงปวดมาก หรืออาการปวดล้า และปวดร้าวไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เป็น ๆ หาย ๆ หรือมีอาการเป็นประจำ ซึ่งอาการปวดเหล่านี้ สามารถเกิดได้หลายส่วนในร่างกาย ได้แก่

  • บริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น หัว ดวงตา ท้ายทอย คอ ไหล่ สะบัก นิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก
  • บริเวณส่วนหลัง
  • ส่วนล่างของร่างกาย เช่น สะโพก ต้นขา เข่า ข้อเท้า

สังเกตว่า ผู้ป่วยมักจะมีอาการบ่อย ๆ หรือเกิดเรื้อรัง บางคนอาจลามไปถึงอาการปวดหัวได้ และหากเป็นมากขึ้น จะไม่สามารถชี้ตำแหน่งที่เป็นได้ชัดเจน เพราะจะรู้สึกปวดเป็นบริเวณกว้าง ๆ เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นประสาทส่วนต่าง ๆ ที่รู้สึกปวดมีความเกี่ยวข้องเชื่อมต่อกัน

นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเหน็บชา รู้สึกซ่า ๆ ซึ่งเป็นอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ จากโรคออฟฟิศซินโดรม หากเริ่มพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้บ่อย ๆ หรือมีลักษณะเรื้อรัง เป็นไปได้ว่าเราอาจมีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมเข้าแล้ว ควรปรึกษาแพทย์

อย่างไรก็ตาม นอกจากการรักษาหรือป้องกันด้วยตัวเองแล้ว หากมีอาการมากจริง ๆ ควรเข้ารับการรักษาหรือบรรเทาอาการให้ทุเลาลง ตั้งแต่การรักษาที่เน้นให้อาการทุเลาลงแบบระยะสั้น เช่น การนวดผ่อนคลาย การใช้ยารักษา ไปจนถึงการรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู การทำกายภาพบำบัด และการบูรณาการแนวคิดการรักษา รวมถึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ต่าง ๆ เข้ามาช่วย