ไวอากร้า ยาปลุกอารมณ์หญิง ยาปลุกอารมณ์ชาย ยาปลุกเซ็ก ยาอึด ยาทน ยาแข็ง

การจะเลิกยานอนหลับทำไมมันเลิกยาก

การนอนไม่หลับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญส่งผลกระทบต่อบุคคลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับจำนวนไม่น้อยที่ได้รับการรักษาด้วยยานอนหลับ และรับประทานยานี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจนรู้สึกว่าตนเองจะไม่สามารถนอนหลับได้เลย หากไม่ได้รับประทานยาเหล่านี้ หลายคนไม่รู้ว่าตนเองเกิดภาวะติดยานอนหลับจนกว่าจะพยายามเลิกใช้ยา ซึ่งการเลิกรับประทานยาอย่างทันทีหรือเรียกว่าหักดิบนั้นก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างมากราวกับว่าคุณกำลังตกอยู่ในการต่อสู้ที่ดุเดือดและมีอันตราย ความจริงแล้วยังมีวิธีการเลิกยาที่ดีกว่าการ “หักดิบ” ที่จะช่วยให้คุณสามารถเลิกใช้ยานอนหลับได้อย่างปลอดภัยโดยไม่รบกวนต่อการดำเนินชีวิตปกติประจำวัน โดยการค่อย ๆ ลดปริมาณยาที่รับประทานลงอย่างช้า ๆ ร่วมกับการฝึกนิสัยในการนอนหลับอย่างเป็นธรรมชาติและที่สำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้การเลิกยาครั้งนี้ดำเนินไปด้วยดีและประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวังไว้นั่นก็คือ “คุณควรขอคำปรึกษาแพทย์ที่รักษาก่อน”

เลิกยานอนหลับ

ยานอนหลับคืออะไร

จากชื่อก็บอกเป็นนัย ๆ ถึงคุณสมบัติได้ระดับหนึ่งว่าเป็นยาที่เมื่อรับประทานยาแล้วจะช่วยให้หลับได้และมักช่วยบรรเทาอาการเครียด วิตกกังวลได้อีกด้วย ยาที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ ได้แก่

– กลุ่มยาต้านเศร้า (Antidepressants) ยาต้านเศร้าบางตัว เช่น ทราโซโดน (Trazodone) เป็นยาที่ช่วยรักษาอาการนอนไม่หลับและวิตกกังวลได้ดีมาก

– กลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ยากลุ่มนี้จัดเป็นยาคลายกังวล (Anxiolytic) ออกฤทธ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางสามารถนำไปใช้รักษาได้หลายอาการ เช่น อาการนอนไม่หลับ ภาวะลมชัก คลายกล้ามเนื้อหรือคลายความวิตกกังวล บางขนานมีผลทำให้ง่วงนอนได้มากและถูกใช้เป็นยานอนหลับ ในปัจจุบันยากลุ่มนี้ยังคงเป็นยาหลักในการรักษาอาการนอนไม่หลับ เช่น ไดอะซีแพม (Diazepam) ฟลูราซีแพม (Flurazepam) ไทรอะโซแลม (Triazolam) ลอราซีแพม (Lorazepam) อัลพราโซแลม (Alprazolam) เทมาซีแพม (Temazepam) ฯลฯ การใช้ยาเหล่านี้ในขนาดสูงติดต่อกันหลายสัปดาห์หรือขนาดต่ำติดต่อกันหลายเดือนอาจทำให้เกิดการติดยา และเมื่อเลิกยาทันทีจะเกิดอาการถอนยา (Withdrawal) เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล หงุดหงิด ฯลฯ ถ้าหากรับประทานยากลุ่มนี้ในขนาดสูงและติดต่อกันนานเมื่อเลิกยาอาจมีอาการนอนไม่หลับมากขึ้น (Rebound insomnia)

– ยานอนหลับกลุ่ม Z-drug คือ ยารักษาโรคนอนไม่หลับกลุ่มใหม่ที่ถูกนำมาใช้รู้จักในชื่อว่า ยากลุ่มซีดรักส์ (Z-drugs) ได้แก่ โซลพิเดม (Zolpidem) และโซพิโคลน (Zopiclone) เป็นยาที่ช่วยให้นอนหลับอย่างได้ผล มีช่วงระยะเวลาในการออฤทธิ์สั้นจึงไม่ค่อยก่อให้เกิดภาวะง่วงหรือสับสนในตอนเช้าหลังตื่นนอน

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเลิกรับประทานยานอนหลับ

การหยุดยานอนหลับอย่างทันทีที่เรียกว่า “หักดิบ” (Cold turkey) จะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับที่รุนแรงกว่าตอนที่ยังไม่ได้ใช้ยานอนหลับ (Rebound insomnia) และเกิดอาการถอนยา(Withdrawal symptoms ) ซึ่งอาจเริ่มต้นได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือนานกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิด ขนาด และระยะเวลาในการใช้ยา อาการทั่วไปของการถอนยา ได้แก่ นอนไม่หลับ หงุดหงิด สับสน กระสับกระส่าย วิตกกังวล อาการสั่นหรือมีปัญหาระบบไหลเวียนของโลหิต วิธีการที่จะช่วยให้เกิดอาการถอนยาเพียงเล็กน้อยหรือน้อยที่สุดนั่นก็คือการค่อย ๆ ลดปริมาณยาลงอย่างช้า ๆในช่วงระยะเวลาหลายสัปดาห์ ก่อนที่คุณจะเลิกใช้ยาได้อย่างสมบูรณ์

แล้วอะไรคือ…อุปสรรคในการเลิกยานอนหลับ…

สิ่งที่เป็น อุปสรรคในการเลิกยานอนหลับก็คือ…ความวิตกกังวลของคุณเอง… ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากคุณได้รับขนาดยาลดลงหรือไม่ได้รับประทานยา ซึ่งผลจากการวิจัยเชิงทดลองของศาสตราจารย์ ดร.แจ๊ค เอดิงเงอร์ (Jack Edinger) นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิทราเวชแห่งศูนย์การศึกษาทางการแพทย์ (National Jewish Health) เมืองเดนเวอร์ พบว่าในผู้ป่วยกลุ่มทดลองที่ได้รับการลดขนาดยาลงในช่วงระยะเวลา 20 สัปดาห์ โดยไม่ทราบว่าตนกำลังได้รับยาขนาดเท่าใดบ้างประสบความสำเร็จในการเลิกยานอนหลับ (73%) มากกว่าผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมที่สามารถเห็นขนาดของยาที่ตนได้รับ (35%) ดร.แจ๊ค เอดิงเงอร์ กล่าวว่า “เมื่อผู้ป่วยรู้ว่าคืนไหนที่มีการลดหรืองดยานอนหลับ ผู้ป่วยจะกังวลว่าพวกเขาจะมีอาการเป็นอย่างไร ความจริงก็คือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพราะไม่มียาอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย” แต่เป็นเพราะความคิดคาดการณ์ในด้านลบต่อผลที่จะตามมาของผู้ป่วย

ในทำนองเดียวกันในปี 2022 มีนักวิจัยที่ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่รับประทานยา Ambian (ชื่อสามัญ Zolpidem) เป็นระยะเวลา 1 ปี และในระหว่างนี้ผู้ป่วยได้รับการเปลี่ยนให้รับประทานยาหลอก (Placebo) เป็นเวลา 1 สัปดาห์ในทุก ๆ 3 เดือน โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว พบว่าในระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับยาหลอกผู้ป่วยไม่มีอาการของการนอนไม่หลับที่รุนแรงเลย (Rebound insomnia) ซึ่งเป็นสิ่งที่สนับสนุนความจริงที่ว่า ถ้าหากผู้ป่วยไม่มีความวิตกกังวลในเรื่องขนาดหรือปริมาณของยานอนหลับที่ได้รับ…ก็สามารถนอนหลับได้ดีโดยไม่ต้องใช้ยานอนหลับ ขอขอบคุณข้อมูล จาก nph.go.th