ลักษณะทั่วไปของกัญชา
กัญชาเป็นพืชล้มลุกจำ พวกหญ้าชนิดหนึ่งที่ชื่อ Cannabis sativa L. มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น Mary-June Thai-Sticks, หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “เนื้อ” ขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉก คล้ายใบมันสำ ปะหลังที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะๆ ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำ มาเสพได้แก่ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบ และยอดช่อดอกกัญชา โดยนำ มาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ
จากนั้นจึงนำ มายัดไส้บุหรี่สูบ (แตกต่างจากบุหรี่ทั่วไปที่ไส้บุหรี่จะมีสีเขียว ต่างจากไส้ยาสูบที่มีสีน้าตาล ํ และขณะจุดสูบจะมีกลิ่นเหมือนหญ้าแห้งไหม้ไฟ) หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บ้างก็ใช้เคี้ยวหรือผสมลงในอาหาร
รับประทาน
ปัจจุบันรูปแบบของกัญชาที่พบ นอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสด กัญชาแห้งอัดเป็นแท่งเป็นก้อนแล้ว ยังอาจพบในรูปของ “นํ้ามันกัญชา” (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีนํ้าตาลเข้มหรือสีดำ ได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลายๆ ครั้ง จึงได้เป็นนำ มันกัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงถึงร้อยละ 20-60 หรืออาจพบในลักษณะของ “ยางกัญชา” (Hashish) เป็นยางแห้งที่ได้จากใบและยอดช่อดอกกัญชา ซึ่งโดยทั่วไปจะมีฤทธิ์แรงกว่ากัญชาสดและมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิต ประสาท ประมาณ ร้อยละ 4-8

ประวัติความเป็นมาของกัญชา
กัญชา เป็นพืชพันธุ์ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่งขึ้นได้เกือบทั่วโลก ต้นกัญชาสามารถนำมาใช้เป็นยาเสพติดได้เกือบทุกส่วน มนุษย์รู้จักกัญชาและเสพกันมานานประมาณ 4,000-5,000 ปีมาแล้ว แต่เดิม เข้าใจกันว่ากัญชาปลูกขึ้นได้ในประเทศที่มีอากาศร้อน เช่นทวีปอาฟริกา และเอเชีย ต่อมาได้ทดลองนำากัญชาจากอาฟริกาใต้ไปปลูกในนอร์เวย์ และไอซ์แลนด์ซึ่งมีอากาศหนาว กัญชาก็ปลูกขึ้นได้ดีและมีสารตัวสำาคัญที่ทำาให้กัญชามีฤทธิ์ คือ เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinal) อยู่มากด้วย ดังนั้นกัญชาจึงสามารถปลูกขึ้นได้ทั่วโลกและอาจมีชื่อเรียก ต่างกันไปในแต่ละประเทศ
อาการเมื่อเสพติดกัญชา
- มีอาการตาแดง คออักเสบ คอแห้ง เหงื่อออกมาก และกัญชาทำาให้ เพิ่มการขับน้ำในร่างกายผู้เสพ ซึ่งทำาให้ผู้เสพกัญชาหิวนำ้าและต้องการของหวานๆ มากทำให้กินอาหารจุ
- มีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ มือสั่น เท้าสั่น ทรงตัวไม่อยู่มีอาการผิดปกติทางสายตา ขาดการควบคุมตนเอง ซึ่งมีอันตรายอย่างยิ่งถ้าผู้เสพกัญชา ขับรถยนต์ หรือเดินในท้องถนน
- มีอาการเวียนศีรษะอย่างแรง หูอื้อ มีเสียงในหู ม่านตาขยายกว้างขึ้น มักอยู่ไม่สุขพูดพล่าม หัวเราะลั่น เอะอะ หรือแสดงตลกต่างๆ ความรู้สึกต่อ ความเจ็บปวดและประสาทสัมผัสไวมากขึ้น
- มีอาการความดันเลือดสูง อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำ มือเท้าเย็น และกัญชามีส่วนทำาให้เปลี่ยนระดับนำ้าตาลใน
เส้นเลือดด้วย - มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตื่นเต้นกระสับกระส่าย หายใจไม่สะดวก ทำการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายได้พร้อมกันได้ยาก
- มีอาการทางความคิดสับสนการตัดสินใจและสมาธิเสีย อารมณ์ซึมเศร้า
คุมสติไม่อยู่เกิดอาการเป็นโรคจิตขึ้นได้ อาการต่างๆ เหล่านี้อาจจะมีอยู่เป็น
เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายสัปดาห์ก็ได้
โทษภัยของกัญชา
-ทําลายสมรรถภาพทางกาย
-ทําลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
-ทําลายสมอง
-ทําให้เกิดมะเร็งปอด
-ทําร่ายทารกในครรภ์
-ทําลายความรู้สึกทางเพศ
-ทําลายสุขภาพจิต
กัญชารักษาโรคอะไรได้บ้าง
ปัจจุบันได้มีการศึกษาพบว่ากัญชารักษาโรคได้มากมาย ซึ่งมีทั้งโรคที่มีงานวิจัยรองรับและโรคที่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- ภาวะปวดประสาทส่วนกลาง ที่ใช้วิธีรักษาอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักน้อย
- การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต